นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวในโอกาสร่วมลงพื้นเตรียมความพร้อมของสนามทดสอบ 5G Testbed ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลฯและพันธมิตรในแวดวงโทรคมนาคม ว่า
“AIS รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนสนับสนุนภาครัฐ และภาคการศึกษา เปิดพื้นที่เพื่อจัดแสดงตัวอย่างเทคโนโลยีที่กำลังจะมาในอนาคต อาทิ IoT หรือ 5G ให้แก่ นิสิต นักศึกษา นักพัฒนา พาร์ทเนอร์ รวมถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยี Digital ของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ Digital ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC”
“โดยในการลงพื้นที่เตรียมการห้องปฏิบัติการทดสอบครั้งนี้ เราได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง Nokia นำ 5G Use case และ IoT Device จาก AIS IoT Alliance Program เพื่อให้ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจและทุกอุตสาหกรรมที่จะมาใช้บริการในศูนย์นี้เห็นภาพประโยชน์จาก 5G สร้างแรงบันดาลใจในการผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ให้สอดรับกับเทคโนโลยีอนาคตที่จะมาถึงอันใกล้ ทั้งนี้ use case ต่างๆ ประกอบด้วย
1.เทคโนโลยีแสดงความหน่วงที่ต่ำกว่าและให้การตอบสนองที่เร็วกว่าของเครือข่าย 5G ผ่านเกมและ application ต่างๆ
- 5G Ultra Low Latency – Cooperative Cloud Robots : สาธิตความหน่วงเครือข่าย 5G ด้วยการแสดงเวลาที่หุ่นยนต์สองตัวใช้ในการหาจุดสมดุลที่ทำให้ลูกบอลอยู่กึ่งกลาง โดยหุ่นยนต์จะใช้เวลาน้อยกว่ามากบนเครือข่าย 5G เมื่อเปรียบเทียบกับเครือข่าย 4G
- 5G Collaborative Car Factory : สาธิต ผู้ทดสอบจะได้ลองประกอบเครื่องยนต์ของรถยนต์ ผ่าน VR ซึ่งจะแสดงให้เห็นความเร็วในการตอบสนองที่แตกต่างของความหน่วงระดับต่างๆ
- 5G AR Digital Rubik’s Cube และ 5G VR Football Game : สาธิตการตอบสนองที่เร็วกว่าของเครือข่าย 5G ผ่านเกมฟุตบอลและการเล่น Rubik’s cube แบบ real-time
2.เทคโนโลยี Security Orchestration and Automation ที่จะแสดงให้เห็นถึงการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายข้อมูลขององค์กร ที่มีการประสานงานอย่างสอดคล้องและตอบสนองโดยอัตโนมัติ โดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ในการตรวจสอบและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในโลกของเครือข่าย 5G
3.เทคโนโลยีของ Nokia AVA สำหรับการออกแบบระบบดิจิทัล 5G (5G Digital Design) โดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และการเรียนรู้ของเครื่อง เข้ามาช่วยในการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในรูปแบบสามมิติ (3D Geolocation) ซึ่งนำไปสู่การออกแบบระบบดิจิทัล 5G ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 5G ได้อย่างครบถ้วน รวดเร็ว และได้ประสิทธิภาพของการบริการบนระบบโครงข่าย 5G อย่างสูงสุด
4.เทคโนโลยี IoT โดยโครงการ AIAP-AIS IoT Alliance Program นำชุดอุปกรณ์ IoT Devices สำหรับนักพัฒนามาจัดแสดง อาทิ NB IoT Shield และ NB-XBEE เพื่อให้นิสิต นักศึกษา หรือผู้ประกอบการได้ศึกษา นำไปพัฒนาเป็น IoT Solution พร้อมแสดงตัวอย่างการนำ IoT Solution ไปประยุกตร์ใช้งานจริง ได้แก่ Smart Water Level Monitoring ที่ตอบโจทย์การบริหารจัดการระดับน้ำในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
“เพราะ 5G คือเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขีดความสามารถการเชื่อมต่อ IoT และ เครือข่ายที่ตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียร อีกทั้งยังมีความสำคัญอย่างมากสำหรับการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้แน่ใจว่า ecosystem มีความพร้อมในเวลาที่เหมาะสม เพื่อผลักดันธุรกิจและ use case ใหม่ๆ ในระหว่างนี้ AIS และพาร์ทเนอร์ ก็จะขอร่วมสนับสนุนภาครัฐในการเตรียมความพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ๆของประเทศอย่างดีที่สุดแน่นอน” นายวีรวัฒน์ ย้ำ
Leave a Reply