TRT กวาดรายได้ Q1 อยู่ที่ 398.03 ล้านบาท พร้อมตุน Backlog ทั้งกลุ่มแล้วกว่า 2,250 ล้านบาท

ถิรไทย หรือ TRT ผู้นำตลาดหม้อแปลงไฟฟ้า และอุตสาหกรรมด้านพลังงานรายใหญ่ของประเทศ โชว์รายได้ไตรมาส 1 โกยรายได้ 398.03 ล้านบาท โดยบริษัทฯ มีรายได้ตามสัญญาก่อสร้างจากบริษัทฯในเครือกว่า 101 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.03 % ด้านผู้บริหารฟอร์มสดตั้งแต่ต้นปีตุน Backlog แล้วกว่า 2,250 ล้านบาท (ณ 31/03/2560)

โดยแบ่งสัดส่วนเป็นกลุ่ม Non-Transformer 52% และกลุ่ม Transformer 48% พร้อมเผยถึงยังมีงานรอประมูลอีกกว่า 10,280 ล้านบาท โดยกลุ่ม TRT คาดว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 20-25%

 นายสัมพันธ์ วงษ์ปาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ถิรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TRT ผู้นำตลาดหม้อแปลงไฟฟ้า และอุตสาหกรรมด้านเกี่ยวกับพลังงานรายใหญ่ของประเทศ เพื่อผลิตสินค้าตามคําสั่งซื้อของลูกค้า (made to order) เพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลประกอบการไตรมาส 1 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 ว่า บริษัทมีรายได้จากการขายอยู่ที่ 398.03 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 60.72 ล้านบาท หรือคิดเป็น 13.42 % แต่บริษัทฯ มีรายได้จากการบริการ 109.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10.88 คิดเป็น 11.06 % และมีรายได้ตามสัญญาก่อสร้างของบริษัทฯในเครือ 101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 19.03 %

นอกจากนี้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการขายร้อยละ 12.65 ลดลงจากช่วยเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ ร้อยละ 23.43 เนื่องมาจากราคาขายที่ส่งมอบงานปรับตัวลดลงจากสภาวะการแข่งขัน และกำไรขั้นต้นจากการบริการร้อยละ 44.10 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 52.93 เนื่องมาจากงานที่ส่งมอบเป็นการบริการทั่วไป ซึ่งมีกำไรขั้นต้นเฉลี่ยตามตลาด

นายสัมพันธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ณ ปัจจุบัน กลุ่มบริษัทฯ มี Backlog (ณ 31 มี.ค. 2560) แล้วกว่า 2,250 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนที่เป็นกลุ่ม Transformer 48% มูลค่า 1,077 ล้านบาท และกลุ่ม Non-Transformer 52% มูลค่ากว่า 1,173 ล้านบาท โดยกลุ่ม Transformer จะมีการส่งมอบในปี 2017 ประมาณ 886 ล้านบาท และปี 2018 ประมาณ 162 ล้านบาท และปี 2019 ประมาณ 29 ล้านบาท และในส่วนของกลุ่ม Non-Transformer จะมีการส่งมอบในปี 2017 ประมาณ 573 ล้านบาท และปี 2018 ประมาณ 300 ล้านบาท และปี 2019 ประมาณ 300 ล้านบาท

“ทั้งนี้ กลุ่มฯ ยังคงเดินหน้าประมูลงานอย่างต่อเนื่องในมูลค่างานประมาณ 10,280 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการไฟฟ้านครหลวงประมาณ 1,500 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 1,700 ล้านบาท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตประมาณ 1,500 ล้านบาท และตลาดเอกชนในประเทศอีกกว่า 1,900 ล้านบาท และตลาดต่างประเทศอีก 1,050 ล้านบาท ทั้งนี้ยังมีงานบริการซ่อมบำรุงหม้อแปลงอีก 50 ล้านบาท และกลุ่มบริษัทลูก รถเคลน กว่า 1,460 ล้านบาท และกลุ่ม Steel Structure & Fabricate อีกกว่า 1,120 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯตั้งเป้าที่จะได้รับคำสั่งซื้อข้างต้นประมาณ 20-25 % อีกด้วย” นายสัมพันธ์ กล่าวสรุปในตอนท้าย

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*